ประวัติความเป็นมา กศน.ตำบลหนองเทา
ด้วยพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551
มาตรา 18 วรรคสอง บัญญัติว่า
การดำเนินงานของสถานศึกษาตามวรรคหนึ่ง จัดให้มีศูนย์การเรียนชุมชนเป็นหน่วยจัดกิจกรรมและสร้างกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน
อาศัยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยศูนย์การเรียนชุมชน พ.ศ.2552 ลงวันที่
29 เมษายน พ.ศ.2552
ข้อ 5 การจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชน “การจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนตำบลให้จัดทำประกาศของจังหวัด
โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจลงนามในประกาศจัดตั้ง” จึงจัดตั้ง กศน.ตำบล จำนวน
98 แห่ง
ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลหนองเทา ได้ดำเนินการเปิด กศน.ตำบลหนองเทา แหล่งเรียนรู้ราคาถูกอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่
16 กันยายน 2553
โดยมีนายศุภชัย โพธิ์สุ
เป็นประธานในพิธีเปิด กศน.ตำบลหนองเทา แหล่งเรียนรู้ราคาถูก ณ หมู่ที่ 3
บ้านท่าหนามแก้ว ตำบลหนองเทา อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
ปัจจุบันที่ตั้งของ
กศน.ตำบลหนองเทา ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลหนองเทา
อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
ที่ตั้งและขนาดพื้นที่
ที่ตั้งของตำบลหนองเทา มีที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของอำเภอท่าอุเทน มีลักษณะพื้นที่ของตำบลทอดยาวไปตามแม่น้ำโขง ยาวประมาณ 10 กิโลเมตร อยู่ห่างจากตัวอำเภอ 47 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัด 77 กิโลเมตร
มีพื้นที่ทั้งตำบลประมาณ 16,672 ไร่
หรือประมาณ 26.5 ตารางกิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อ
1. ทิศเหนือ ติดกับบ้านโนนสวรรค์ ตำบลพะทาย
อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
2. ทิศใต้
ติดกับบ้านนากะเสริม ตำบลพนอม อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
3. ทิศตะวันออก
ติดกับแม่น้ำโขง
ยาวตลอดเขตตำบลหนองเทา
4. ทิศตะวันตก
ติดกับบ้านเสียวสงคราม
ตำบลหาดแพง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
บทบาทหน้าที่ภารกิจ
กศน.ตำบล
แนวทางการดำเนินงานของ
กศน. ตำบล
กศน.ตำบลจะมีการปรับบทบาทภารกิจให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและบริบทของพื้นที่
ตลอดจนรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนมากขึ้น ภายใต้การขับเคลื่อนการดำเนินงาน
4 ศูนย์การเรียนรู้ ได้แก่
1) ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่
เป็นศูนย์กลางการส่งเสริม จัดกระบวนการการเรียนรู้
และหน่วยประสานงานแหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายในชุมชน
ดำเนินงานร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาจักร (กอ.รมน.)
2) ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล (ศส.ปชต.)
เพื่อสร้างการเรียรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
โดยเฉพาะสิทธิและหน้าที่ในระบอบประชาธิปไตยบูรณาการความร่วมมือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(กกต.)
3) ศูนย์ดิจิทัลชุมชน
ซึ่งบริหารจัดการฐานข้อมูลที่จำเป็นสำหรับ กศน. และชุมชน
เพื่อให้มีความรู้และรับรู้ที่เท่าทันปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกยุคดิจิทัล
4) ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตชุมชน
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาในระบบการศึกษา
นอกระบบการศึกษา และการศึกษาตามอัธยาศัย
ให้มีคุณภาพที่สอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษา โดยยึดชุมชนเป็นฐานในการดำเนินงาน โดย
กศน.ตำบลมีบทบาทเป็นผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวก
บทบาทภารกิจหน้าที่ของครู กศน.ตำบล
ครู กศน.ตำบลเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดการให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
ตลอดชีวิต ดังนั้น จึงมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญในการขับเคลื่อน กศน.ตำบลดังกล่าวคือ
1. การวางแผนจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมีกระบวนการทำงาน ดังนี้
1.1 ศึกษาสำรวจชุมชนโดยละเอียดเพื่อจัดทำฐานข้อมูลชุมชน ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล
ประชากรจำแนกตามตามอายุเพศ อาชีพ ฯลฯ ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพทางภูมิศาสตร์ ประวัติชุมชน ข้อมูลด้านอาชีพ รายได้ ข้อมูลทางสังคม ประเพณีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
1.2 จัดทำเวทีประชาคมร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อ
ร่วมกันจัดทำแผนชุมชน ที่ระบุความต้องการในการพัฒนาชุมชนความต้องการการเรียนรู้ หรือการศึกษาต่อ ฯลฯ ของประชาชนในชุมชน
1.3 จัดทำโครงการด้านการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มาจากแผนชุมชน
เสนอต่อศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอเพื่อขอรับการสนับสนุน และประสาน ของความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย
1.4 ประสานงานแสวงหาความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตลอดจนอาสาสมัครต่าง ๆ เพื่อร่วมจัดกิจกรรมการศึกษา ตามอัธยาศัยของชุมชนที่รับผิดชอบ
2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของ กศน. ตำบล โดยจำแนกกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนี้
2.1 การส่งเสริมการรู้หนังสือ
2.2 การจัดการศึกษาในหลักสูตรการศึกษานอกระบบรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.3 การจัดการศึกษาต่อเนื่อง หลักสูตรระยะสั้นเพื่อการพัฒนาอาชีพ
(วิชาทำมาหากิน) การพัฒนาทักษะชีวิตและการพัฒนาสังคมและชุมชน
2.4 การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
2.5 การจัดกิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
ทั้งนี้ครู กศน. ตำบลจะมีบทบาทหลักเป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitater) ให้กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ โดยมีกระบวนการทำงาน คือ
1) วางแผนการเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียน ในแต่ละกิจกรรม/หลักสูตรเกี่ยวกับวิธีเรียน เวลา
เรียน การใช้สื่อหรือแบบเรียน และการวัดผลประเมินผล
2) ประสานงานเพื่อจัดหาวิทยากร หรือผู้สอนในแต่ละรายวิชาหรือแต่ละหลักสูตร
ร่วมกับ กศน.ตำบล และจัดส่งผู้เรียนไปเรียนรู้ตามแผนที่วางไว้
3) ให้คำปรึกษาแนะนำ และเป็นพี่เลี้ยงช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมี
ประสิทธิภาพ รวมทั้งคอยช่วยแก้ไขปัญหาในการเรียนและการสอนตลอด หลักสูตร
4) ประสานงานกับ กศน.อำเภอ เพื่อจัดหาสื่อและวัสดุอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้
ของผู้เรียนในแต่ละหลักสูตร
5) ประสานงานกับ กศน. อำเภอ เกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลในแต่ละ
หลักสูตร เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการหรือจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
6) สรุปผลและรายงานผลการจัดกิจกรรมเรียนรู้ต่อ กศน.อำเภอ
3. การให้บริการการเรียนรู้ใน กศน.ตำบล โดยเฉพาะกิจกรรมศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชนศูนย์บริการชุมชน ซึ่งนอกเหนือจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น
3.1 กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และมุมห้องสมุดชุมชน
3.2 การให้บริการสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วีดีทัศน์ รายการวิทยุเพื่อการศึกษา
3.3 การประสานงานสนับสนุนศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fit it
Center) หรือช่างชนบท
4. การสนับสนุนกิจกรรมของชุมชน ทั้งด้านสังคม วัฒนธรรม ประเพณี รวมทั้งสนับสนุนการใช้บริการของประชาชนในชุมชน เพื่อเป็นที่พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในชุมชน รวมทั้งสนับสนุนการจัดกิจกรรมขององค์กรหรือหน่วยงานภาครัฐอื่น และส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มหรือชมรมในชุมชน เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเยาวชน ชมรมผู้สูงอายุ ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค สภาเด็กและเยาวชน และองค์กรนักศึกษา กศน. เป็นต้น
5. การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน โดยการประสานขอความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย องค์กรชุมชน ผู้รู้ ผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อร่วมเป็นอาสาสมัคร กศน. อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น